การฝึกสมาธิภาวนาจึงเป็นจิตที่ได้รับประโยชน์สูงสุดเพื่อนำไปสู่การรู้แจ้งและเห็นจริงในนิพพาน

34

มีความเข้าใจที่ผิดๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติสมาธิภาวนาตามแนวทางพุทธศาสนาในหมู่คนที่มิใช่ชาวพุทธหรือแม้แต่ในชาวพุทธบางกลุ่ม ที่มีความเห็นว่า การฝึกสมาธิเป็นเรื่องไร้สาระ เป็นการหนีโลกหนีความจริงในการดำเนินชีวิตประจำวันการที่มีความเห็นเช่นนี้ อาจเนื่องมาจากมีความเข้าใจในเป้าหมายของการปฏิบัติสมาธิภาวนาตามหลักทางพุทธศาสนายังไม่ถูกต้อง โดยนำไปปะปนกับการปฏิบัติสมาธิภาวนาแบบนั่งหลับตาสวดมนต์ท่องบ่นคาถาอ้อนวอนเพื่อขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการทำสมาธิภาวนาในทางพุทธศาสนาที่มุ่งเพื่อปรับปรุงสุขภาพจิตให้เกิดความสงบ มีดุลยภาพต่อการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวันอีกประการหนึ่งที่ควรทำความเข้าใจคือการปฏิบัติที่มุ่งฝึกสมาธิในระดับสูงขึ้นโดยการปลีกวิเวกแสวงหาที่สงบเงียบในบรรยากาศที่สงัด แม้จะเป็นสิ่งที่ดี แต่หากมีการหลงยึดติดอยู่แค่นั้น ก็๋ยังนับว่าเป็นอุปสรรคต่อความเห็นแจ้งในสัจธรรมตามหลักการทำสมาธิในทางพุทธศาสนา

ตามความหมายที่แท้จริงนั้น สมาธิ หมายถึง การภาวนาหรือการพัฒนาระดับของจิตใจ เพราะว่าจิตเป็นตัวกำหนด เป็นตัวควบคุมและเป็นตัวปรุงแต่ง ที่มีความสำคัญต่อการกระทำ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ ก็ตาม ดังนั้นจิตที่ได้รับการฝึกสมาธิภาวนาจึงเป็นจิตที่ได้รับประโยชน์สูงสุดเพื่อนำไปสู่การรู้แจ้งและเห็นจริงในนิพพาน แม้ว่านิพพานนั้นอาจจะยังอยู่ห่างไกลจากเป้าหมายของผู้ปฏิบัติสมาธิภาวนาซึ่งคนส่วนใหญ่มุ่งหวังเพียงเพื่อแสวงหาประโยชน์สุขในระดับโลกิยะ ในทางพุทธศาสนา มีเป้าหมายในการทำสมาธิอยู่ 2 ประการคือเพื่อ ทิฏฐิธรรมสุขวิหาร กล่าวคือ เพื่อการแสวงหาความสงบสุขระหว่างที่อยู่ในระยะการปฏิบัติสมาธิ เช่นเมื่อบรรลุฌาน 4 ในชั้นรูปฌาน จะเสพอารมณ์ ปีติ สุข สงบ ไปจนถึงความสุขอันประณีตในชั้นอรูปฌาน อันได้แก่ ความสว่างอันสงบ หรือความสุขในการสำเร็จอภิญญาจากการปฏิบัติ กับอีกเป้าหมายหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายสูงสุด คือ เพื่อใช้เป็นฐานนำไปสู่การปฏิวัติวิปัสสนาภาวนาด้วยการนำ สติ สัมปชัญญะ และ ปัญญา มาเพ่งพินิจพิจารณาเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย